Cisco 10 คำสั่งสำหรับมือใหม่


#1. คำสั่ง "?" (help)
สำหรับมือใหม่และมือเก่า แน่นอนว่าคำสั่งใน Cisco iOS นั้นมีเยอะมากเป็นหลัก 1000 คำสั่ง, จะมีซักกี่คนจะจำได้ขึ้นใจ สามารถพิมพ์ได้คล่องแคล่วและถูกต้องทั้งหมด คำสั่ง "?" ช่วยเราคิดออกว่า เราควรจะพิมพ์อะไรต่อ ใช้คำสั่งเต็มๆทั้งหมดว่าอย่างไร ประมาณว่า จำไม่ได้/คิดไม่ออก ก็พิมพ์ "?" แล้ว iOS จะบอกคุณเองว่า คุณสามารถใช้คำสั่งอะไรได้บ้างนะ.....
#2 คำสั่ง "show running-configuration" หรือที่มักย่อกันว่า "sh run"
คำสั่งนี้เป็นพื้นฐานการดูค่า config ที่ Router/Firewall/Switch นั้นๆ run อยู่ เราใช้ตรวจทานว่า เครื่องนั้นๆ run คำสั่งอะไรอยู่ ณ เวลานั้นกันแน่ๆ เพื่อที่จะเป็นแนวทางให้ทราบว่าจะทำการแก้ไข/ปรับปรุง/เพิ่มเติม คำสั่งใหม่ๆเข้าไป และอย่าลืมที่จะพิมพ์คำสั่ง
copy running-configuration startup-configuration
เพื่อเป็นการ save config ไว้ให้เป็นค่าที่เราจะใช้ตอนเครื่อง boot ทุกครั้งนะครับ
หรือย่อแบบรวดรัดโดยใช้คำสั่ง wr mem นะครับ
#3: copy running-configuration startup-configuration
คำสั่งนี้จะทำการบันทึกค่า config ที่ run อยู่ที่ RAM ไปบันทึกที่ nonvolatile RAM (NVRAM). เหตุที่จำเป็นต้องใช้คำสั่งนี้ก็เพราะข้อมมูลใน RAM ละถูกลบไปถ้าไฟฟ้าดับ หรือเครื่อง reload แต่เมื่อ boot กลับมา, Switch จะไปอ่านค่า config ที่อยู่ใน NVRAM มาใช้
เป็นที่รู้กันว่า ถ้าไม่ run คำสั่งนี้หละก็ ที่ config ไปแล้วไม่ได้ save ก็จะหายหมดนะครับ สำหรับคำสั่งย่อก็คือ "copy run start". (คำสั่ง copy ยังสามารถใช้กับ TFTP และ Flash: ได้ด้วยนะครับ)
#4: show interface
คำสั่งนี้จะเป็นการ show ค่า/สถานะ ต่างๆของ Interface นั้นๆนะครับ ได้แก่
- Interface status (up/down)
- Protocol status on the interface
- Utilization
- Errors
- MTU
คำสั่งนี้ใช้เป็นพื้นฐานในการ troubleshooting ของ router และ switch. สำหรับคำสั่งย่อคือ "shint fa0/0"
(เปลี่ยนชื่อ interface เอาเองนะครับ)
ตัวอย่าง Interface
f0/1, g0/1, vlan 1, vty 0, bvi 0 และอีกมากมายครับ)
#5: show ip interface
คำสั่งนี้ จริงๆแล้วอาจจะใช้บ่อยกว่า "show interface" นะครับ
คำสั่งนี้จะแสดงค่าต่างๆมากมายของ config และ สถานะของ IP protocol และ services ของทุก interface ทั้งค่าทาง routing, IP, Layer 3, Layer 2 ครับ
#6: "enable", "config terminal", "interface"
ชุดคำสั่งทั้ง 3 นี้เป็นชุดคำสั่งพื้นฐานไว้ที่ใช้ในการ config ค่าของอุปกรณ์ Cisco ครับ
- "enable" หรือ "en"
ใช้เพื่อเปิดระบบ เพื่อที่จะเข้ามาทำการดู/แก้ไข ค่าต่างๆ หลังจากพิมพ์คำสั่งแล้ว จะมีเครื่องหมาย # ตามหลังชื่ออุปกรณ์ครับ
- "config terminal" หรือ "conf t"
ใช้เพื่อเข้าไปในระบบการแก้ไขแบบ global configuration mode เพื่อทำการตั้งค่าต่างๆของอุปกรณ์ หลังจากพิมพ์คำสั่งแล้ว จะมีเครื่องหมาย (config)# ตามหลังชื่ออุปกรณ์ครับ
- "interface" หรือ "int"
ลองใช้เครื่องหมาย "?" ตามหลังดู แล้วคุณจะรู้ว่า อุปกรณ์นั้นๆมี interface อะไรบ้างนะครับ หลังจากพิมพ์คำสั่งแล้ว จะมีเครื่องหมาย (config-if)# ตามหลังชื่ออุปกรณ์ครับ
การออกจาก config terminal ให้ใช้คำสั่ง exit. หรือจะออกให้หมดเลยครั้งเดียว ให้ใช้คำสั่ง "end" ครับ
#7: "shutdown", "no shutdown"
เป็นคำสั่งที่ใช้ใน mode config interface เพื่อที่จะ brings up (no shutdown) หรือ bring down (shutdown) สำหรับแก้ปัญหา/ปิดค่าต่างๆ หรือสั่ง shutdown เพื่อ clear error แล้วสั่ง no shutdown เพื่อให้ interface นั้นกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
สำหรับคำสั่งย่อคือ "shut", "no shut".
#8: show ip route
คำสั่งนี้ใช้แสดง routing table เป็นการแสดงให้เห็นว่า เรามีเส้นทางติดต่อกับ subnet อื่นอย่างไรบ้าง สำหรับคำสั่งย่อคือ "shipro" หรือ "shiproospf" สำหรับ OSPF routers.
การ clear routing table ทำโดยคำสั่ง "do clear ip route *" หรือถ้าจะลบ routing เดียวก็ใช้คำสั่ง "do clear ip route x.x.x.x" สำหรับ network นั้นๆ
#9: show version
เป็นคำสั่งที่ใช้แสดง ค่าต่างทางของ Hardware และ Firmware ของอุปกรณ์ Cisco. สามารถให้รายละเอียดของ S/N, IOS Firmware Version, IOS file, รุ่นของอุปกรณ์, ขนาดของ RAM และ Flash. สำหรับคำสั่งย่อคือ "shver".
#10: debug
คำสั่ง debug จะมีหลากหลาย options มากๆ สามารถแสดงรายละเอียดของ application, protocol และ service.
เช่น คำสั่ง "debug ip route" จะแสดงค่าทึกครั้งที่มีการเปลี่ยนเส้นทางการ route ระบบครับ

Cisco 10 คำสั่งสำหรับมือใหม่ Cisco 10 คำสั่งสำหรับมือใหม่ Reviewed by Admin on 02:32 Rating: 5
ขับเคลื่อนโดย Blogger.